เส้นใยสังเคราะห์ คุณสมบัติ ข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง

เส้นใยสังเคราะห์เป็นวัสดุสำหรับการผลิตเสื้อผ้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ทั้งด้านความทนทาน ด้านน้ำหนัก หรือด้านการใช้งาน อย่างไรก็ตาม เส้นใยสังเคราะห์ยังมีข้อจำกัดที่ควรพิจารณาอื่น ๆ ด้วย โดยในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับเส้นใยสังเคราะห์กันให้มากยิ่งขึ้น พร้อมคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของเส้นใยสังเคราะห์ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อเสื้อผ้าจากเส้นใยสังเคราะห์

เส้นใยสังเคราะห์ คืออะไร?

เส้นในสังเคราะห์ หรือ Synthetic Fiber เป็นเส้นใยที่เกิดจากการคิดค้นและพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นโพลิเมอร์ที่สังเคราะห์ขึ้นมาจากสารอนินทรีย์หรือสารอินทรีย์ เพื่อพัฒนาเส้นใยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะด้านคุณสมบัติ หรือด้านการใช้งาน อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาเพื่อให้การใช้งานของเส้นใยหลากหลายมากขึ้นตามไปด้วย โดยเส้นใยสังเคราะห์แบ่งออกเป็น 3 ชนิดหลัก ๆ ด้วยกัน ประกอบด้วย เส้นใยเซลลูโลส เส้นใยโปรตีน และเส้นใยโพลีเมอร์ ซึ่งเส้นใยสังเคราะห์ทั้ง 3 ชนิดนี้มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป  

เส้นใยเซลลูโลสสังเคราะห์ (Synthetic Cellulose Fibers)

เส้นใยเซลลูโลสสังเคราะห์หรือเซลลูโลสที่ถูกผลิตขึ้นมาใหม่ (Regenerated Cellulose) ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า ‘ไหมเทียม’ แต่ต่อมาในภายหลังเรียกว่า ‘เรยอน (Rayon)’ ซึ่งได้รับการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพให้ดีมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ 

โดยเส้นใยเรยอนนี้ถูกคิดค้นขึ้นมาโดย Robert Hooke ที่ได้บันทึกไว้ในหนังสือที่ชื่อว่าไมโครกราเฟีย (Micrographia) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงให้เห็นว่ายังมีความเชื่อมั่นในการคิดค้นเส้นใยให้คล้ายคลึงกับใยไหมได้อยู่นั่นเอง 

เส้นใยโปรตีนสังเคราะห์ (Synthetic Protein Fibers)

เส้นใยโปรตีน

ผลิตขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 1894 โดยในช่วงเวลานั้นได้ใช้ชื่อว่า Vandura Silk ซึ่งคุณสมบัติของเส้นใยยังคงไม่มีคุณภาพ ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้งานได้จริง ต่อมาในปี ค.ศ. 1904 Todtenhaupt ได้คิดค้นเส้นใยโปรตีนจากหางน้ำนมหรือ Casein แต่กระนั้น คุณสมบัติก็ยังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจมากนัก เพราะเส้นใยไม่สามารถโค้งงอและรวมตัวกันได้ ส่งผลให้ไม่สามารถนำมาผลิตเป็นผ้าได้

จากนั้นระหว่างปี ค.ศ. 1924 – 1935 Antonio Ferretli สามารถคิดค้นเส้นใยจากหางน้ำนมได้สำเร็จ ก่อนจะใช้ชื่อทางการค้าว่า ‘Lanital’ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็เริ่มแพร่ขยายไปยังประเทศอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องโดยชื่อทางการค้าก็ถูกเปลี่ยนตามประเทศนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเยอรมันเรียกว่า Tiolan หรือประเทศอังกฤษเรียกกว่า Fibrolene เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม นอกจากการผลิตคิดค้นเส้นใยโปรตีนสังเคราะห์จากหางน้ำนมแล้วนั้น นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ค้นคว้าเส้นใยโปรตีนสังเคราะห์จากพืชชนิดอื่น ๆ จนสำเร็จอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นถั่วเหลือง ถั่วลิสง และข้าวโพด เป็นต้น เรียกได้ว่าเส้นใยโปรตีนสังเคราะห์จากพืชพรรณต่าง ๆ นั้นมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เส้นใยโปรตีนโพลีเมอร์สังเคราะห์ (Synthetic Polymer Fibers)

เป็นเส้นใยสังเคราะห์จากสารเคมี (Chemical) โพลีเมอร์ ซึ่งถูกผลิตขึ้นมาจากสารเคมีด้วยวิธีการทางเคมี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้หลากหลายชนิด อาทิเช่น ไนลอน (Nylon) โพลิเอสเตอร์ (Polyester) อะคริลิก (Acrylic) และโอลิฟิน (Olefin) เป็นต้น โดยเส้นใยแต่ละชนิดที่กล่าวมานี้มีส่วนประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันด้วยเช่นเดียวกัน แต่กระนั้น ในส่วนของขั้นตอนและกระบวนการผลิตยังคงคล้ายคลึงกัน 

คุณสมบัติที่คุณอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับเส้นใยสังเคราะห์

ด้านความทนทาน

เส้นใยสังเคราะห์มีคุณสมบัติที่โดดเด่นในด้านความแข็งแรงและทนทานต่อการขีดข่วน รวมไปถึงทนต่อการใช้งานหนักอีกด้วย ทำให้เส้นใยสังเคราะห์ขาดหรือได้รับความเสียหายค่อนข้างยาก เหมาะสำหรับเสื้อผ้าที่ใช้ในกิจกรรมที่รุนแรงหรือต้องการความทนทาน

ด้านน้ำหนัก

โดยปกติแล้ว เส้นใยสังเคราะห์จะมีน้ำมันที่ค่อนข้างเบากว่าเส้นใยชนิดอื่น ๆ ทำให้การเคลื่อนไหวหรือการใช้งานมีความเบา สะดวกสบาย และคล่องตัวสูงตามไปด้วย อีกทั้งยังให้ความรู้สึกสบายขณะสวมใส่

ด้านความหลากหลาย

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเส้นใยสังเคราะห์แบ่งออกได้เป็นหลายชนิด ซึ่งหมายความว่าเส้นใยสังเคราะห์สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายรูปแบบ พร้อมยังสามารถปรับให้เหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกันได้ด้วยเช่นเดียวกัน

ด้านความยืดหยุ่น

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่โดดเด่นของเส้นใยสังเคราะห์เลยก็ว่าได้ เพราะเส้นใยสังเคราะห์บางประเภทมีความยืดหยุ่นสูง แม้ว่าจะผ่านการใช้งานหรือการซักทำความสะอาดหลายครั้ง เส้นใยยังคงรูปเสื้อผ้าไว้ได้ดังเดิม

บทสรุป

เส้นใยสังเคราะห์มีคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างจากเส้นใยชนิดอื่น ๆ ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลายด้าน อย่างไรก็ตามแม้ว่าเส้นใยสังเคราะห์จะมีข้อดีมากมาย แต่กระนั้นก็มีข้อเสียที่ควรพิจารณาร่วมด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการระบายอากาศที่ไม่ดี อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้นแล้ว การเลือกใช้เส้นใยสังเคราะห์จึงขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและความต้องการของผู้ใช้ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

สำหรับใครกำลังมองหาร้านรับผลิตชุดยูนิฟอร์มหรือเสื้อผ้าต่าง ๆ ทั้งเสื้อโปโล เสื้อเชิ้ต หรือผ้ากันเปื้อน สามารถติดต่อได้ที่ SMART UNIFORM ที่พร้อมให้บริการอย่างจริงใจ ด้วยคุณภาพของสินค้าที่ได้รับมาตรฐาน และบริการที่ครบครัน หากใครสนใจสามารถเข้าไปเลือกชมได้ที่เว็บไซต์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 02-415-7195