การทำความรู้จักเนื้อผ้าชนิดต่าง ๆ มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการออกแบบและผลิตเสื้อผ้า เนื่องจากเนื้อผ้าที่แตกต่างกันก็จะมีคุณสมบัติที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งจะต้องมีการคำนึงถึงคุณภาพ ความสวยงาม ความยืดหยุ่น การระบายอากาศ และความสะดวกสบายขณะสวมใส่ ซึ่งในบทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเนื้อผ้าชนิดต่าง ๆ ที่มีการนำมาใช้ผลิตเสื้อในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถเลือกใช้เนื้อผ้าได้ถูกต้องตามจุดประสงค์ในการใช้งานมากที่สุด
เนื้อผ้าชนิดต่าง ๆ กับการนำมาผลิตเสื้อ
สำหรับเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าที่กำลังจะเริ่มต้นทำธุรกิจเกี่ยวกับเสื้อผ้า หรือผู้ที่ต้องการผลิตเสื้อเพื่อใช้เป็นชุดยูนิฟอร์ม หรือสำหรับการใช้งานทั่วไป ควรจะต้องทำความรู้จักกับเนื้อผ้าชนิดต่าง ๆ เพื่อการใช้งานอย่างถูกต้องตามจุดประสงค์ ซึ่งจะมีเนื้อผ้าที่นิยมนำมาใช้ผลิตเสื้อ ดังนี้
ผ้าคอตตอน
ผ้าคอตตอน (Cotton) คือเส้นใยธรรมชาติ 100% หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ ผ้าฝ้าย ซึ่งถือเป็นเนื้อผ้าที่นิยมนำมาใช้ผลิตเสื้อมากที่สุด เพราะสามารถผลิตเสื้อได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น เสื้อโปโล หรือเสื้อเชิ้ต เพราะเป็นเนื้อผ้าที่มีสัมผัสที่นุ่มสบาย ระบายอากาศได้ดี และมีความยืดหยุ่นสูง จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมในปัจจุบันจึงมีการนำผ้าคอตตอนมาใช้ในการผลิตเสื้อในหลากหลายอุตสาหกรรมมากที่สุด
ผ้าโพลีเอสเตอร์
ผ้าโพลีเอสเตอร์ (Polyester) เป็นเนื้อผ้าที่ขึ้นชื่อเรื่องความเหนียว ทนทาน ยืดหยุ่น ไม่ยับง่าย แถมยังให้ความสะดวกสบายในการสวมใส่ เนื่องจากเป็นกระบวนการผลิตที่ใช้เส้นใยสังเคราะห์ 100% ที่มีความละเอียดมาก ระบายอากาศได้ดี ผ้าโพลีเอสเตอร์จึงเหมาะกับการนำมาใช้ผลิตเสื้อกีฬา และการใช้งานเสื้อผ้าที่ต้องการความคล่องตัวและสะดวกสบายมากเป็นพิเศษ
ผ้าลินิน
ผ้าลินิน (Linin) เป็นเนื้อผ้าที่ผลิตมาจากเส้นใยของพืชที่เรียกว่า แฟลกซ์ ซึ่งมีความทนทาน และเหนียวนุ่ม สามารถระบายความร้อนได้ดี แถมยังไม่เก็บกลิ่นและความชื้นไว้ภายในเสื้อ จึงสามารถใช้งานได้อย่างสบายตัว
ผ้าซาติน
ผ้าซาติน (Satin) เป็นการผสมผสานระหว่างเส้นใยธรรมขาติและเส้นใยสังเคราะห์ไว้อย่างลงตัว ซึ่งจะมีวิธีการถักทอโดยการนำเส้นยืนหลาย ๆ เส้นมาพาดทับกับเส้นพุ่งจำนวน 1 เส้น และจะใช้การถักทอแบบนี้ซ้ำไปเรื่อย ๆ จึงทำให้ได้ผ้าซาตินที่มีความมันวาว ผิวเรียบ และมีความนุ่ม แถมยังนิยมนำมาใช้ผลิตเสื้อผ้าและเครื่องนอนที่ต้องการความหรูหรา สวยงาม แต่ยังคงความยืดหยุ่นและคงรูปร่างได้เป็นอย่างดี
ผ้าสแปนเด็กซ์
ผ้าสแปนเด็กซ์ (Spandex) เป็นผ้าสังเคราะห์ที่มีความยืดหยุ่นเป็น 5-7 เท่าของขนาดเดิมเลยทีเดียว และจะพบได้บ่อยในหลากหลายอุตสาหกรรม เนื่องจากมีคุณสมบัติพิเศษมากมาย แถมยังสามารถคืนรูปเดิมได้แบบไม่ต้องกลัวเสียทรงอีกด้วย จึงนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมกีฬาเป็นหลัก
ผ้าฮานาโกะ
ผ้าฮานาโกะ (Hanako) เป็นผ้าที่มีที่มาจากประเทศญี่ปุ่น เนื้อผ้าจะมีความแน่น ละเอียด และเป็นผ้าที่แข็งแรงอย่างมาก เมื่อสวมใส่แล้วจะรู้สึกถึงความแน่นของเนื้อผ้า และระบายความร้อนได้ดี การทิ้งตัวของเสื้อก็ทำได้ค่อนข้างดี ไม่ต้องกลัวยับ โดยจะเห็นจากการนำมาใช้ผลิตเป็นกางเกงสำหรับทำงานได้บ่อยเลยทีเดียว
ผ้าไนลอน
ผ้าไนลอน (Nylon) เป็นเส้นใยสังเคราะห์ที่สามารถใช้ในการผลิตและใช้ผสมกับเนื้อผ้าชนิดอื่น ๆ เพื่อให้สามารถคงรูปได้นานอีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นผ้าที่มีความยืดหยุ่น คืนตัวได้ง่าย และยังสามารถดูแลรักษาง่าย ไม่ต้องกลัวว่าจะยับระหว่างการใช้งาน โดยจะพบบ่อยจากการนำมาผลิตแจ็คเก็ต และการใช้งานสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง เพราะสามารถป้องกันลมได้ดี
ผ้า Dry Tech
ผ้า Dry Tech เป็นการใช้เทคโนโลยีแบบทอสองชั้นมาใช้ในการผลิต มีทั้งคุณสมบัติของผ้าคอตตอนและโพลีเอสเตอร์ ทำให้ผ้ามีประสิทธิภาพการใช้งานสูงอย่างมาก สามารถดูดซับเหงื่อจากร่างกายและจะส่งผ่านไปยังผิวด้านนอก จึงเหมาะกับการใช้งานในช่วงหน้าร้อน หรือการทำกิจกรรมที่มีเหงื่อเยอะ ตัวอย่างเช่น การเล่นกีฬา หรือการเดินทางก็ตอบโจทย์เช่นเดียวกัน
ผ้าจูติ
ผ้าจูติ (Juti) สามารถระบายอากาศได้ดี แถมยังมีความนุ่มสบายขณะสวมใส่ เหมาะสำหรับการใช้งานในประเทศไทยอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงที่อากาศร้อนอบอ้าว ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะแล้วนิยมใช้เส้นด้ายและเส้นใยสังเคราะห์มาใช้ในการผลิตร่วมกัน และมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ ตัวอย่างเช่น จูติไมโคร, จูติ TK, จูติ CVC และ จูติ Cotton เป็นต้น
(อ่านเพิ่มเติม: ผ้าจูติ คืออะไร พร้อมบอกต่อเทคนิคในการดูแลรักษา)
เลือกเนื้อผ้าอย่างไร ให้เหมาะกับการใช้งาน
การเลือเนื้อผ้าเพื่อนำมาใช้ผลิตเสื้อ มีหลายปัจจัยที่จะต้องนำมาพิจารณาร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น การใช้งาน คุณภาพและคุณสมบัติเด่นของเนื้อผ้า และปัจจัยอื่น ๆ รวมถึงงบประมาณที่ใช้ในการผลิตด้วยเช่นกัน เพราะการเลือกเนื้อผ้าหรือวัสดุที่ใช้ในการผลิตเสื้อผ้าจะส่งผลต่อราคาของเสื้อ ดังนั้น ก่อนที่จะเลือกเนื้อผ้าชนิดใดมาทำการผลิตเสื้อเพื่อใช้ในโอกาสต่าง ๆ จึงต้องมีการพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้อย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ได้เสื้อผ้าที่ตรงกับจุดประสงค์ในการใช้งานและมีความคุ้มค่ามากที่สุด
บทสรุป
เนื้อผ้าชนิดต่าง ๆ มีคุณสมบัติและข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน หากต้องการนำเนื้อผ้าชนิดใดมาใช้ในการผลิตเสื้อ ควรจะศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วนก่อน เพื่อเป็นการผลิตสำหรับใช้งานและจำหน่ายได้ตรงต่อความต้องการและมีความคุ้มค่า และจะต้องเลือกโรงงานผลิตที่มีการใช้เทคโนโลยีที่มีความทันสมัยมากที่สุด เพื่อคุณภาพของสินค้านั่นเอง